เจาะลึกปัญหาการเลิกจ้าง การลาออก การเกษียณอายุ และการจ่ายค่าชดเชย
การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้น นายจ้างและฝ่ายทรัพยากรบุคคล จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจหลักกฎหมายแรงงาน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเลิกจ้าง การลาออก การเกษียณอายุ และการจ่ายค่าชดเชย ซึ่งมักเป็นสาเหตุของการร้องเรียนจากลูกจ้าง หรือมีการฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลแรงงาน ดังนั้น หากนายจ้างมีความเข้าใจและประยุกต์ใช้หลักกฎหมายได้อย่างถูกต้อง ย่อมสามารถบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาแรงงานได้อย่างราบรื่น เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรในลำดับต่อไป
วัตถุประสงค์การฝึกอบรม :
- เพื่อทำความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับการเลิกจ้าง การลาออก การเกษียณอายุ และค่าชดเชย
- เพื่อช่วยให้สามารถบริหารงานบุคคลได้อย่างราบรื่น ป้องกันปัญหาการฟ้องร้องคดีแรงงาน
- เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้กฎหมายได้อย่างเหมาะสม เพื่อเป้าหมายสูงสุดขององค์กร
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ :
เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
เนื้อหา
1) ปัญหาการเลิกสัญญาจ้าง และข้อควรระวังสำหรับนายจ้างและฝ่ายทรัพยากรบุคคล
2) ประเภทของการสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน และกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้อง
3) ความแตกต่างของการเลิกจ้าง การลาออก การตกลงเลิกสัญญา และการเกษียณอายุ
4) สาเหตุ ข้อควรระวัง และแนวทางการป้องกันปัญหาที่จะเกิดจากการเลิกสัญญาจ้าง
5) การออกหนังสือเตือน และการดำเนินการตามขั้นตอนทางวินัยก่อนการเลิกจ้าง
6) การเลิกจ้าง การลาออก และการเกษียณอายุตามกฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขใหม่
7) ผู้มีอำนาจในการบอกเลิกจ้าง และวิธีการบอกเลิกจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย
8) ข้อความหรือพฤติกรรรมที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง และไม่ใช่การเลิกจ้าง
9) สาเหตุของการเลิกจ้าง และเงิน 3 ประเภทที่นายจ้างอาจต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
10) กรณีที่ต้องการบอกกล่าวล่วงหน้า และข้อยกเว้นไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
11) วิธีการ ระยะเวลาในการบอกกล่าว และผลของการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ถูกต้อง
12) การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงาน และข้อควรระวังในการขยายเวลาการทดลองงาน
13) การลาออก การอนุมัติ การยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงกำหนดวันลาออก
14) การดำเนินการ กรณีลูกจ้างลาออกผิดระเบียบหรือผิดข้อตกลงในสัญญาจ้าง
15) การเกษียณอายุตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับแก้ไขใหม่ล่าสุด
16) หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศ
17) อัตราค่าชดเชย วิธีการคำนวณ และเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ
18) การเลิกจ้างที่ต้องจ่ายค่าชดเชย และกรณีที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่าย
19) การจ่ายค่าชดเชยพิเศษ กรณีนายจ้างปรับปรุงกิจการหรือกระบวนการผลิต
20) การจ่ายค่าชดเชยพิเศษ กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ
21) การคุ้มครองลูกจ้าง และข้อจำกัดในการเลิกจ้างลูกจ้างบางประเภท
22) การทำสัญญายกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หรือไม่ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย
23) การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สิทธิหน้าที่ของคู่สัญญาหลังสิ้นสุดสัญญาจ้าง
24) การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการเลิกจ้างที่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
25) การฟ้องเรียกค่าเสียหาย หรือบังคับให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน
26) กำหนดเวลาและเงื่อนไขการจ่ายเงินประเภทต่างๆ เมื่อมีการเลิกสัญญาจ้าง
27) สิทธิหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างหลังสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน
*** กรณีศึกษาจากตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานเกี่ยวกับการเลิกจ้าง ***
วิทยากร : อาจารย์สัจพล ส่งสมบุญ (Sam)
ราคาพิเศษวันนี้ ท่านละ 3,900 บาท
ลงทะเบียน 3 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,000 บาท
สถานที่อบรม: โรงแรม อะไรซ์ สุขุมวิท 26
ฟรีเอกสารประกอบการอบรม อาหารว่าง 2 มื้อ และอาหารกลางวัน
ติดต่อสอบถามจัดหลักสูตร IN HOUSE & PUBLIC TRAINING
TEL : 02-577-5369, 099-162-9559
E-MAIL: CONTACT.TESSTR@GMAIL.COM
LINE ID : @TESSTRAINING
FACEBOOK : TESSTRAININGPAGE