กระบวนการสำหรับผู้ส่งมอบชิ้นส่วนในสายงานของอุตสาหกรรมยานยนต์ การเตรียมการด้านเอกสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ล่วงหน้า (APQP) เพื่อการเสนออนุมัติรับรองชิ้นส่วนเพื่อการผลิต(Production Part Approval Process : PPAP) มักเกิดประเด็นสำคัญที่ไม่สอดคล้องตามระบบที่ ISO/IATF 16949 และไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้าหรือข้อตกลงกับผู้สนับสนุน (Supplier) ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในระหว่างทำการผลิตจริง (Mass Production) อาจส่งผลกระทบทั้งด้านคุณภาพและการส่งมองให้กับลูกค้า จึงมักเกิดเป็นชนวนประเด็นขัดแย้งและอาจจะลงลามบานปลายได้ในอนาคต
ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงประเด็นและการวางแผนโครงการร่วมกันด้วยการจัดเตรียมเอกสารตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนกระทั่งภายหลังการผลิตต่อเนื่อง (Mass Production) ให้สอดคล้องและคลอบคลุมอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นแนวทางดำเนินการให้การผลิตและส่งมอบเป็นไปอย่างราบรื่น สร้างความเชื่อมั่นและการยืนยันความสารมารถในกระบวนการผลิตที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ / ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และความเข้าใจในหลักการของ APQP และ PPAP ที่ถูกต้อง
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบทราบขั้นตอนและการจัดทำเอกสาร APQP และ PPAP ได้อย่างเป็นรูปธรรม
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะในการเตรียมการ APQP และ PPAP ได้อย่างเป็นรูปธรรม
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางในการประยุกต์ใช้ APQP และ PPAP ในแผนควบคุม (Control Plan) ได้
หัวข้อการอบรม / สัมมนา
1. ความเข้าใจพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของการทำงานให้มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดใน ISO/IATF 16949
2. ขอบเขตของทีมงานและกำหนดของเขตตามกำหนดเกณฑ์ต่างๆ จาก Customer Specific Requirements
3. การทบทวนและการทวนสอบความต้องการของลูกค้าด้วย Voice Of Customers
4. Process Review Model (Customer focused process approach concept)
5. ขั้นตอนและข้อควรระวังในการวางแผนคุณภาพล่วงหน้าสำหรับผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า (APQP)
6. เทคนิคการจัดทำและลงข้อมูลในแบบฟอร์ม Part Submission Warrant (PSW) ในกระบวนการ PPAP
7. เทคนิคและวิธีการการเตรียมเอกสารด้านการระบุในแบบฟอร์ม Part Approved
8. สิ่งที่สำคัญและความจำเป็นต้องใช้ ของ PPAP กับปัญหาหลังจากการได้รับคำสั่งซื้อ (Mass Production)
9. กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice)
10. สรุปการเรียนรู้และถามตอบ
ระยะเวลาอบรม
– 1 วัน (6 ชั่วโมง)
วิธีการฝึกอบรม (ทฤษฏี 30% เชิงปฏิบัติการ 70%)
– การบรรยาย-สาธิตเนื้อหาและทฤษฎี รวมทั้งชมภาพและวีดีทัศน์ประกอบ
– ตัวอย่างกรณีศึกษาสำหรับการฝึกปฏิบัติ
– กิจกรรมกลุ่มระดมสมอง – กิจกรรมกลุ่ม (Workshop)
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
– ผู้บริหาร ผู้จัดการ วิศวกร หัวหน้างาน ที่เกี่ยวข้อง
– ผู้ที่มีหน้าที่หรือผู้ได้รับพิจารณาให้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไป
– โปรดเตรียมเครื่องช่วยคำนวณ / เครื่องคิดเลข ท่านละ 1 เครื่องในการฝึกอบรม
สถานที่อบรม เดอะคอนเนคชั่น